นักวิจัยคณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับอนุสิทธิบัตร สูตรสารเคลือบไข่และกรรมวิธีการเตรียม
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ราชตนะพันธุ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ จันทนสกุลวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ ที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเลขที่ 24393 “สูตรสารเคลือบไข่และกรรมวิธีการเตรียม” ซึ่งการจดอนุสิทธิบัตรครั้งนี้ สะท้อนถึงความสามารถและความมุ่งมั่นของนักวิจัยในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย
สารเคลือบไข่ที่คิดค้นขึ้นมีคุณสมบัติพิเศษในการยืดอายุการเก็บรักษาไข่ที่อุณหภูมิห้องได้ยาวนานมากกว่า 1 เดือน ช่วยเพิ่มความสดใหม่และคงความคุณค่าทางโภชนาการได้นานขึ้น รวมถึงช่วยป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งสกปรก ทำให้สามารถลดการสูญเสียของไข่ระหว่างการขนส่งและการวางจำหน่ายได้ นับได้ว่าการพัฒนาสูตรสารเคลือบไข่ในครั้งนี้ คือการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศต่อไป
.
The Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University, is proud to congratulate Professor Dr. Pornchai Rachtanapun and Associate Professor Dr. Kittisak Jantanasakulwong, a lecturer of the Packaging Technology Program at the Faculty of Agro-Industry, on being granted Petty Patent No. 24393 for their “Egg Coating Formula and Preparation Method.” This patent reflects the researchers’ exceptional ability and dedication to inventing and developing technologies that benefit Thailand’s agro-industry.
The innovative egg coating formula they developed has special properties that extend the shelf life of eggs stored at room temperature for over one month. It helps maintain freshness and preserve nutritional value for longer periods while also preventing contamination from microorganisms and dirt. This significantly reduces egg loss during transportation and distribution. The development of this egg coating formula adds value to agricultural products and supports the creation of high-quality food products, contributing to food security and sustainability in the country’s food industry.